วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คู่มือใช้งาน โปรแกรม Proshow Gold

ลำดับที่ 1. การแทรกวัตถุ


ขั้นตอนการทำงาน
สำหรับโปรแกรม Proshow นั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ Slideshows แบบง่าย ๆ ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ไปจนถึงงาน Slideshows ที่มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดมากขึ้นเท่าที่ต้องการอย่างไม่จำกัด เท่าที่ความคิดสร้างสรรค์จะมีได้ Proshow ก็จะมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
การนำไฟล์เข้ามาทำงาน
โดยเราสามารถใช้ไฟล์ภาพนิ่ง,ไฟล์เสียงและไฟล์วิดีโอ มาประกอบกันในการทำ Slideshows ได้ และมันจะทำให้งานน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วย (คำว่า Slideshows เราอาจจะคิดถึงแต่ภาพ แต่จริง ๆ แล้วสามารถนำวิดีโอมาใช้ได้ด้วยเช่นกัน)
å การใส่ไฟล์ใน Slide List
1. เริ่มจากในส่วนของ Folder List ก็ให้เลือกไดร์ฟหรือโฟลเดอร์ที่มีภาพ,เสียงหรือวิดีโอที่เราต้องการ แล้วคลิกเลือกไปที่โฟลเดอร์นั้น
2. ไฟล์ที่สามารถใช้งานได้ก็จะแสดงอยู่ในส่วนของ File List ขั้นตอนต่อมาที่เราต้องทำก็คือ ดึงไฟล์ที่ต้องการมาวางเรียงในส่วนของ Slide List วิธีการก็คือดึงแล้วนำมาวางได้เลย แต่ถ้าต้องการหลาย ๆ ภาพมาวางพร้อม ๆ กันก็จะมีรูปแบบการทำงานอยู่ 3 วิธี


- ถ้าต้องการทุกภาพให้คลิกขวาเลือก Slide all แล้วนำไปวางใน Slide List
- ถ้าต้องการหลายภาพที่เรียงต่อเนื่องกันก็ให้เลือกที่ภาพแรกที่ต้องการ กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกไปที่ภาพสุดท้าย แล้วนำไปวางใน Slide List
- ถ้าต้องการหลายภาพที่เรียงไม่ต่อเนื่องกันให้คลิกเลือกภาพที่ต้องการ กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วเลือกภาพอื่น ๆ ไปเรื่อย ๆ ตามต้องการ แล้วนำไปวางใน Slide List
3. เมื่อภาพมาอยู่ใน Slide List แล้ว มันจะแสดงเป็นภาพขนาดเล็กที่มีชื่อภาพ, ลำดับภาพ และระยะเวลาในการแสดงภาพด้วย (ค่าเริ่มแรกอยู่ที่ 3 วินาที)




4. ไฟล์วิดีโอก็ทำเช่นเดียวกับไฟล์ภาพนิ่ง แต่ไฟล์เสียงหลังจากเสียงเข้ามาอยู่ใน File List แล้วให้ดึงไปวางในตอนล่างของ Slide List ซึ่งจะแสดงในลักษณะในรูปคลื่น (Wave) และเป็นสีเขียว ถ้าเราต้องการใส่เพลงต่อ ๆ ไปก็ให้ลากลงไปวางได้เลย มันจะไปเรียงต่อกันโดยอัตโนมัติ แต่จะเป็นสีฟ้าหรือสีม่วง เพื่อให้รู้ว่าเป็นคนละไฟล์กัน ซึ่งโปรแกรมจะสลับเป็นสีเขียวและฟ้าหรือม่วงไปเรื่อย ๆ และเสียงในขั้นตอนนี้จะใช้เป็นเสียงของ Slideshows หรือเรียกว่า Soundtrack เป็นเพลงที่จะเล่นไปเรื่อย ๆ พร้อมกับภาพที่เปลี่ยนไป




-การแทรกภาพ
1. ดึงภาพที่ต้องการมาวางบริเวณหน้าภาพที่เราต้องการจะแทรกก็จะมีแท่งสี่เหลี่ยมดำ ๆ อยู่หน้าภาพนั้น
2. ให้ปล่อยภาพ ภาพนั้นก็จะไปแทรกแทนที่ด้านหน้าของภาพนั้น
å การเรียงลำดับภาพ และการลบภาพ
เมื่อเราได้ไฟล์ต่าง ๆ มาอยู่ใน Slide List แล้ว (เราจะเรียกไฟล์ต่าง ๆว่า Slide) เราสามารถเรียงลำดับของภาพได้ใหม่ตามต้องการ โดยการดึงภาพนั้น ๆ ไปวางหน้าภาพอื่น ๆ และถ้าไม่ต้องการภาพใดก็เลือกที่ภาพนั้น แล้วกดปุ่ม Delete (แต่สำหรับเสียงถ้าต้องการจะลบให้ดูในหัวข้อ Show Options)


-Blank Slide
Blank Slide ก็คือภาพนิ่งที่มีสีเดียว เช่น ภาพสีขาว สีดำ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น สร้างหัวข้อเรื่องใส่ลงไปใน Blank Slide ให้เป็นภาพเปิดเรื่องเป็นต้น
1. ให้คลิกขวาที่ภาพใน Slide List ที่เราต้องการใส่ Blank Slide ไว้ข้างหน้า เลือกที่ Insert Blank Slide เราก็จะได้ภาพ Blank Image
2. ถ้าต้องการใส่ข้อความ ก็ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Blank Slide หน้าต่างการทำงานของ Slide Options จะแสดงขึ้นมา ให้เลือกไปที่ Captions แล้วใส่ข้อความตามต้องการและสามารถเปลี่ยนสีของ Blank Image ได้ในแท็บ Background





-การใส่ Layer ให้ Slide
1. เมื่อเรามีภาพอยู่ใน Slide List แล้ว ก็ให้ดึงภาพหรือวิดีโอใหม่ที่ต้องการไปวางทับภาพที่มีอยู่แล้ว โดยจะต้องกดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ด้วย จะเห็นว่าไอคอนของเมาส์จะเปลี่ยนเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเครื่องหมายบวกอยู่ข้างใน



2. ภาพใหม่ก็จะลงไปทับและบังภาพเก่าจนเราไม่เห็นภาพเก่าเลย


-Slide Timeline
การแสดงแบบ Slide Timeline เป็นการแสดง Slide ในอีกรูปแบบหนึ่ง(ใช้ปุ่ม TAB ในการเปลี่ยน)ซึ่งรายละเอียดบางอย่างของ Slide จะหายไป โดย Slide จะวางตัวต่อเนื่องกับ Transition ไปเรื่อย ๆ โดยมีระยะเวลากำกับอยู่ด้วย และจะแสดงระยะเวลาของแต่ละ Slide และ Transition ที่ถูกต้อง จะทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า Slide และ Transition ใดใช้เวลาแสดงนานหรือสั้น และจะมีเส้นบอกเวลาด้วย




เหมาะกับการแก้ไขในรายละเอียดซึ่งโดยปกติ เราจะใช้การแสดงแบบ Slide List เป็นหลัก แต่บางขั้นตอนอาจจะต้องใช้ Slide Timeline
å Slide Show Time Bar
ก็คือเส้นแสดงตำแหน่งของงาน Slideshows ซึ่งสามารถคลิกแล้วเลื่อนไปมาในตำแหน่งที่เราต้องการได้ และถ้าเลื่อนไปยังตำแหน่งใดภาพของงาน Slideshows ในตำแหน่งนั้นก็จะไปแสดงอยู่ในหน้าต่าง Preview


ลิงค์สมาชิกในกลุ่ม

ลำดับที่ 2. http://leeyong50060.blogspot.com/

ลำดับที่ 3. http://tanymira.blogspot.com/

ลำดับที่ 4. http://orawan-ch.blogspot.com/


วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น การเงิน งานพัสดุ งานกิจการนักเรียน งานห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม หรือจัดหาโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมีเดียนั่นเอง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น ด้วยเหตุผลดังนี้

- เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียนตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่าสามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้

- สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย

- สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเอง

- ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring tool) ที่ง่ายต่อการใช้งาน ทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้ - ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ

- สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียนเท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ตนเองต้องการ

- เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ทุกระดับอายุและความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น

- สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียนหรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบเครือข่ายยังช่วยเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย

ที่มา http://student.nu.ac.th/captivate/train-meaning.htm